สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาขาวิชาโรคติดเชื้อ

จากอดีตสู่ปัจจุบัน..

    สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสาขาวิชางานที่มีปณิธานมุ่งมั่นที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อและครอบครัวแบบเป็นองค์รวม โดยกำหนดแนวทางให้สอดคล้องกับการทำงานของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ทั้งด้านการรักษาผู้ป่วย รวมถึงการเรียนการสอนให้กับนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด โดยมีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญร่วมพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง     ผู้เริ่มก่อตั้งสาขาวิชาโรคติดเชื้อในเด็กซึ่งเป็นหัวหน้าสาขาคนแรกคือศาสตราจารย์นายแพทย์ สโรช คมสัน หัวหน้าสาขาคนที่ 2 คือผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงเยาวลักษณ์ โลหารชุน หัวหน้าสาขาคนที่ 3 คือศาสตราจารย์กิตติคุณแพทย์หญิงเสาวนีย์ จำเดิมเผด็จศึก และหัวหน้าสาขาคนที่ 4 คือ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณหญิงโชติมา ปัทมานันท์

ปี พ.ศ. 2539-2542

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร หัวหน้าสาขาวิชาคนที่ 5 ผู้บุกเบิกและรณรงค์การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก และเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในการดูแลรักษาและงานวิจัยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก อีกทั้งท่านยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติในด้านโรคติดเชื้อในเด็ก ในช่วงเวลานี้ อาจารย์แพทย์หญิงอัมพร สุคนธมาลย์ จากภาควิชาจุลชีววิทยา มาเป็นอาจารย์พิเศษโดยร่วมปฏิบัติงานและพัฒนาระบบงานในการวินิจฉัยเชื้อ Mycoplasma และ Chlamydiaศาสตราจารย์กิตติคุณแพทย์หญิงเสาวนีย์ จำเดิมเผด็จศึก และหัวหน้าสาขาคนที่ 4 คือรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณหญิงโชติมา ปัทมานันท์

ปี พ.ศ.2542-2545
และ
ปี พ.ศ.2548-2554

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศศิธร ลิขิตนุกูล หัวหน้าสาขาวิชาคนที่ี่ 6 ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ เช่น Mycoplasma และ Chlamydia และ วัณโรคในเด็กเป็นผู้ริเริ่มโครงการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โดยใช้ยาต้านไวรัสโดยประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงยาต้านไวรัสในสมัยแรกๆ และท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ยาต้านจุลชีพในเด็กปกติและเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ

ปี พ.ศ.2545-2548
และ
ปี พ.ศ.2554-2561
(สิ้นสุด 30 พ.ย. 2561)

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชิษณุ พันธุ์เจริญ หัวหน้าสาขาวิชาคนที่ 7 ผู้ริเริ่มและ บุกเบิกการดูแลผู้ป่วยและญาติแบบเป็นองค์รวม การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความ เป็นมนุษย์ เป็นผู้ชำนาญด้านการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก เอชไอวีในเด็ก และมุ่งเน้นการป้องกันโรคด้านวัคซีน เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมทักษะการสื่อสารฯ เพื่อให้บริการฝึกอบรมด้านการสื่อสารทางการแพทย์ให้กับแพทย์ นักเรียนแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ และเป็นที่ปรึกษา โครงการจุฬาคิดส์คลับ ซึ่งเป็นโครงการให้ความรู้สำหรับประชาชนเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้กับเด็กและครอบครัว

ปี พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน
(รับตำแหน่ง 1 ธ.ค. 2561)

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงธันยวีร์ ภูธนกิจ รองหัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อเด็ก มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษา และ งานวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ เอชไอวี และเป็นคณะกรรมการขององค์การอนามัยโลกในการพัฒนาแนวทางการรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวี ตลอดจนมุ่งเน้นพัฒนางานวิจัยทางคลินิกและพัฒนาวัคซีนต่างๆ อาทิเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนเอชพีวี เป็นต้น และเป็นหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคติดเชื้อเด็กและวัคซีน